
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
บริษัทมีพันธะกิจเพื่อบรรลุถึงมาตรฐานระดับสูงของหลักการกำกับดูแลกิจการและได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบต่างๆ เพื่อปกป้องและคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นและสร้างความเชื่อมั่นในคุณค่าในระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทดำเนินการกำกับดูแลอย่างดีที่สุด บนพื้นฐานหลักเกณฑ์จรรยาบรรณทางธุรกิจ การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส บริษัทดำเนินการเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และปฏิบัติอย่างดีที่สุดตามหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ดีตามแนวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
A. สิทธิของผู้ถือหุ้น
การคุ้มครองสิทธิ
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้น และสนับสนุนให้เกิดการใช้สิทธิเหล่านี้ สิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายของผู้ถือหุ้น อันประกอบด้วยสิทธิในการซื้อ ขาย โอน หลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ สิทธิในการรับส่วนแบ่งเงินปันผล สิทธิในการได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเพียงพอ ตรงเวลา และสม่ำเสมอ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนแต่งตั้ง หรือถอดถอนกรรมการ และผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทนของบุคคลเหล่านั้น สิทธิในการร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่มีผลต่อบริษัท เช่น การได้มาซึ่งสินทรัพย์ การควบรวม การชำระบัญชีบริษัทย่อย การจ่ายเงินปันผล การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิรวมทั้งข้อบังคับของบริษัท การเพิ่มทุน หรือลดทุนจดทะเบียน อย่างถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท คือ www.kwgthai.com ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ www.set.or.th ผู้ถือหุ้นสามารถมั่นใจได้ว่าสิทธิดังกล่าวได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดีเสมอ
นอกจากสิทธิขั้นพื้นฐาน บริษัทได้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทได้แต่งตั้ง บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในการลงทะเบียนหุ้นและหลักทรัพย์ของบริษัท
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของความถูกต้อง ครบถ้วน การเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสแก่ผู้ถือหุ้น เกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นๆ ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์และเว็บไซต์ของบริษัททั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในเวลาที่เหมาะสม
การประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทจัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ปีละครั้ง ภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชี นอกจากนี้ บริษัทจะเรียกให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น กรณีมีเรื่องสำคัญเกิดขึ้นในระหว่างปี และต้องการให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติ การกำหนด วัน เวลา และสถานที่ประชุมได้คำนึงถึงความสะดวกของผู้ถือหุ้นที่จะเข้าร่วมประชุม บริษัทจะไม่จัดประชุมในวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ และวันหยุดทำการทางธุรกิจ ในปี 2562 บริษัทจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 เวลา 15.00 น ถึง 16.30 น ที่ โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพฯ โดยสถานที่จัดประชุมผู้ถือหุ้นสามารถเดินทางมาเข้าร่วมประชุมได้โดยสะดวกโดยระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส
บริษัทได้นำระบบบาร์โค้ดมาใช้ในการลงทะเบียน พร้อมทั้งจัดพิมพ์บัตรลงคะแนนในแต่ละวาระให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อให้การลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
ในปี 2562 มีการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านเว็บไซต์ของบริษัทล่วงหน้าวันก่อนถึงวันประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาเพียงพอในการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ บริษัทไม่ได้เพิ่มวาระการประชุมโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นยังได้รับการแจ้งกฎระเบียบของการประชุมผู้ถือหุ้น และขั้นตอนการลงคะแนนเสียง รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในการถามคำถาม การให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็นในระหว่างการประชุม
คณะกรรมการและฝ่ายบริหารได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงผลประกอบการและนโยบาย รวมถึงตอบคำถามที่เกี่ยวข้องในที่ประชุม ข้อเสนอแนะและคำถามเหล่านั้นได้ถูกบันทึกไว้ในรายงานการประชุม และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัทภายใน 30 วัน ภายหลังวันประชุม
บริษัทมีนโยบายเปิดเผยมติการประชุมในแต่ละวาระและผลการลงคะแนนเสียงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างช้าที่สุดภายใน 9.00 น. ของวันทำการถัดจากวันประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทได้มีนโยบายเชิญผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอระเบียบวาระการประชุมที่สมควรได้รับการพิจารณาจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าในระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2561 – 30 มกราคม 2562 โดยประกาศผ่านระบบการเผยแพร่สารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัทคือ www.kwgthai.com ในหมวดนักลงทุนสัมพันธ์ สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 อีกด้วย
B. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัทมีนโยบายปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม บริษัทมีนโยบายเปิดเผยข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้องแม่นยำรวมถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมและดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามกระบวนการขั้นตอนที่กำหนดโดยกฎหมายและกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการดังต่อไปนี้
- ให้ความเป็นธรรมและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันแก่ผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนต่างประเทศ และให้บุคคลดังกล่าวใช้สิทธิของตนได้
- หากผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมหรือลงคะแนนเสียงในการประชุม บริษัทยินยอมให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้บุคคลอื่นลงคะแนนเสียงแทนได้ แบบในการมอบฉันทะและรายชื่อของกรรมการอิสระที่เป็นตัวแทนรับมอบฉันทะแนบมาพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม ผู้ถือหุ้น และ/หรือ ผู้รับมอบฉันทะจะได้รับการสนับสนุนให้ใช้สิทธิลงคะแนนในวาระต่างๆ
- เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลภายในและผลประโยชน์ทับซ้อน บริษัทได้กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการใช้ข้อมูลไปในทางมิชอบ และ/หรือ การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับบริษัท จนถึงปัจจุบันนี้ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายในในทางมิชอบแต่อย่างใด
- บริษัทมีคู่มือสำหรับกรรมการและผู้บริหารในการเปิดเผยผลประโชน์ของตนเองในบริษัท และที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ (ถ้ามี) บริษัทได้ทำการเปิดเผยข้อมูลการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหารในบริษัท และบริษัทย่อย ตามที่หน่วยงานกำกับของรัฐกำหนด เช่น คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับพนักงานของบริษัทที่ชัดเจนและหลากหลายผ่านเว็บไซต์ของบริษัทหรือช่องทางอื่นๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email)
ผู้สนใจสามารถติดต่อบริษัทโดยตรงได้ที่ บริษัท คิง ไว กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 47 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หมายเลขโทรศัพท์ : (662) 129-5999 หมายเลขโทรสาร : (662) 129-5998 หรือที่ [email protected] หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของบริษัท www.kwgthai.com
C. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทตระหนักถึงสิทธิตามกฎหมายและบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ เจ้าหนี้ คู่แข่งทางการค้า ชุมชน และสังคม ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลายจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ตามที่กฎหมายบัญญัติให้สิทธิเอาไว้ ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ได้ทำการพิมพ์เผยแพร่ในคู่มือให้แก่พนักงานทุกคน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คู่มือดังกล่าวเผยแพร่ทั่วไปแก่บุคคลดังต่อไปนี้
ผู้ถือหุ้น บริษัทถูกกำหนดให้ดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ โปร่งใส เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทจะเติบโตอย่างยั่งยืน และเพิ่มมูลค่าในระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้น
ลูกจ้าง บริษัทตระหนักว่าลูกจ้างเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร บริษัทได้พยายามอย่างยิ่งในการพัฒนาขีดความสามารถของลูกจ้างอย่างต่อเนื่องโดยเปิดโอกาสให้เติบโตในหน้าที่การงาน และมีระบบการให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นธรรม บริษัทมีพันธะที่ต้องฝึกอบรมและพัฒนาความสามารถในการทำงานเช่นเดียวกับจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับการทำงานสำหรับลูกจ้างทุกคน ในปี 2562 บริษัทจัดให้มีการอบรมพนักงานทั้งที่จัดขึ้นภายในและภายนอกองค์กรรวมทั้งหมด 103 ชั่วโมง
ลูกค้า บริษัทมีพันธะที่จะต้องจัดหาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าทุกคน พร้อมทั้งช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าเหล่านั้น ขณะเดียวกันก็ป้องกันความลับของลูกค้า เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดให้ต้องเปิดเผย หรือได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร บริษัทมีความตั้งใจที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าไปพร้อมๆกับการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าไปอย่างยั่งยืน
เจ้าหนี้ บริษัทได้วางนโยบายเพื่อให้เจ้าหนี้มั่นใจได้ว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง บริษัทจะแจ้งเจ้าหนี้ในทันทีเพื่อจะได้ร่วมกันพิจารณาและหาทางแก้ปัญหาด้วยความยุติธรรม
หุ้นส่วนทางธุรกิจ ลูกจ้างทุกคนต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของตน และของญาติ เพื่อไม่ให้เป็นการขัดขวางการตัดสินใจของผู้ซื้อหรือผู้ขาย ลูกจ้างควรงดการรับของขวัญ และ/หรือ รับประโยชน์จากผู้ซื้อ หรือผู้ขายหรือตอบรับเชิญไปร่วมสังสรรค์ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้จัด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหา หรือให้การช่วยเหลือ หรือบริการเป็นพิเศษในโอกาสอื่น ๆ
คู่แข่ง บริษัทเคารพการแข่งขัน โดยประพฤติปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่กล่าวหาในทางร้าย หรือมุ่งทำลายชื่อเสียงแก่คู่แข่งทางการค้า และไม่มีส่วนร่วมในการตกลง และ/หรือ การสนทนากับลูกจ้างของคู่แข่งในประเด็น และ/หรือ ข้อมูลที่อาจมีผลกระทบกับธุรกิจของแต่ละฝ่าย
ชุมชนและสังคม บริษัทมีพันธะที่จะต้องก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและชุมชนในสี่ด้าน คือ การศึกษา กีฬา สังคมและสิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรม
แนวนโยบายอื่นๆ
- จัดซื้อซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ บริษัทจัดซื้อซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายและห้ามใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้อง หากมีความจำเป็นต้องการติดตั้งซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น เพิ่มเติม แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องก่อนทำการติดตั้ง
- นโยบายด้านสุขภาพ พนักงานทุกคนจะได้รับบัตรประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่บริษัทกำหนดและสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามโรงพยาบาลที่กำหนดโดยมีวงเงินค่ารักษาพยาบาลตามระดับของพนักงาน นอกจากนี้ บริษัทยังจัดให้มีโปรแกรมการตรวจสุขภาพพนักงานเป็นประจำทุกปี
นโยบายด้านความปลอดภัย บริษัทมีมาตรการฝึกอบรมหนีไฟและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟให้กับพนักงานทั้งที่อยู่ในอาคารสำนักงานและในโครงการก่อสร้าง
D. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
บริษัททำให้เชื่อมั่นได้ว่าข้อมูลเกี่ยวข้องทางการเงินหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้ทำการเปิดเผยอย่างถูกต้องครบถ้วน โปร่งใส และในเวลาที่เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด ข้อมูลทางการเงินของบริษัทจัดทำภายใต้หลักเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชี และเป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลทั่วไปเพื่อสะท้อนผลประกอบการที่แท้จริงของบริษัท
บริษัทได้เปิดเผยข้อมูล เช่น แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1, และ 56 – 2) ผ่านช่องทางการติดต่อต่างๆ เช่น ระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ และเว็บไซต์ของบริษัท คือ www.kwgthai.com เป็นต้น ภายใต้ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผู้ถือหุ้นสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้อย่างแน่นอน นอกจากนั้นยังได้มีการประสานงานกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภายนอก ในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ สื่อมวลชนต่างๆ ทั้งด้านหนังสือพิมพ์และวารสารธุรกิจ โทรทัศน์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทได้แต่งตั้ง ให้นายหยู่เผิง หวง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่
ผู้ถือหุ้น ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท คิง ไว กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 47
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : (662) 129-5999
หมายเลขโทรสาร : (662) 129-5998
หรือที่ [email protected] หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของบริษัท www.kwgthai.com
E. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
โครงสร้างของคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการผู้ซึ่งมีคุณสมบัติหลากหลาย มีทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์กับบริษัท และเป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการได้รับการแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ในปี 2562 คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการบริหารสาม (4) คน และ ไม่ใช่กรรมการบริหารหก (5) คน
ความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
คณะกรรมการบริษัทกระทำการโดยอิสระจากฝ่ายบริหาร มีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจนระหว่างคณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำหนดนโยบาย กำหนดทิศทางและวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมถึงการกำกับดูแลสอดส่องเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการดำเนินงานมีความโปร่งใสเปิดเผยในระดับสูงสุด และเป็นไปตามนโยบายโดยลำดับ
เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่ามีการถ่วงดุลอำนาจอย่างเหมาะสม จึงได้มีการเพิ่มความรับผิดชอบและความสามารถของคณะกรรมการบริษัทเพื่อทำการตัดสินใจโดยอิสระ บริษัทมีความชัดเจนในความรับผิดชอบของบุคคลากรระดับสูงของบริษัท ทั้งนี้ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีบทบาทแยกจากกันโดยชัดเจน
ความเหมาะสมของคณะกรรมการบริษัท
กรรมการบริษัทมีคุณสมบัติและประสบการณ์ตามที่บริษัทต้องการและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการต้องมีเวลาอย่างเพียงพอ อุทิศความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัท จำนวนกรรมการบริษัทเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท ข้อ 16 ที่กำหนดว่า ให้บริษัทมีคณะกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่าห้าคน กรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ต้องเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย และข้อ 22 กำหนดว่าในการประชุมสามัญทุกปี กรรมการจำนวนหนึ่งในสามต้องออกจากตำแหน่ง หากจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้ตรงจำนวนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนที่ใกล้เคียงที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม กรรมการที่ออกตามวาระดังกล่าวอาจได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการอีกก็ได้ ซึ่งในปี 2562 ในการเลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 มีกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระจำนวน 3 ท่าน คือ
- Mr. Hang Lee Chan กรรมการ
- Mr. Shaosan Zheng กรรมการ
- นายสมประสงค์ มัคคสมัน กรรมการอิสระ
ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ได้มีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงให้ทั้ง 3 ท่านกลับมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทอีกวาระหนึ่ง
วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัท
บริษัทกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการคราวละ 3 ปี แต่อย่างไรก็ตามบริษัทเชื่อว่าอายุหรือระยะเวลาดำรงตำแหน่งมิได้เป็นอุปสรรค หากเปรียบเทียบกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์อันทรงคุณค่าที่แต่ละคนมีและพร้อมที่จะนำมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท
ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการต้องคงไว้ซึ่งระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ มีจรรยาบรรณและอยู่ภายใต้ข้อบังคับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบต้องรักษาทรัพยากรของบริษัทและทำให้แน่ใจว่ากระบวนการและนโยบายจะได้รับการน้อมนำไปปฏิบัติโดยฝ่ายบริหาร
- คณะกรรมการบริษัทมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับระบบตรวจสอบภายในของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่ามีการใช้นโยบายที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทได้มอบให้คณะทำงานการตรวจสอบภายในจาก บริษัท แกรนท์ ธอนตัน จำกัด เพื่อตรวจสอบบริษัท ปีละครั้งเป็นอย่างน้อย และรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบทำการตรวจสอบทุกเรื่องเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงนโยบายภายในของบริษัทเกี่ยวกับจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ คณะกรรมการตรวจสอบจะตรวจสอบเอกสารทางการเงินแบบไตรมาสและรายงานต่อผู้สอบบัญชีภายนอกเช่นเดียวกับคณะทำงานตรวจสอบภายในก่อนขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบมีความพึงพอใจต่อระบบควบคุมภายในที่ได้มาตรฐานของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2562
- เป็นนโยบายของบริษัทในการแต่งตั้งเลขานุการบริษัทเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และหลักธรรมาภิบาลที่ดีของบริษัท เลขานุการบริษัทยังได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ
คณะกรรมการบริษัทกำหนดการประชุมเป็นประจำทุกไตรมาสและอาจมีการเรียกประชุมเพิ่มเติมตามความเหมาะสมกรณีมีเหตุจำเป็น คณะกรรมการจะได้รับรายงาน ตามวิธีการขั้นตอน เพื่อที่ฝ่ายบริหารจะสามารถคาดการณ์ถึงความเสี่ยง และเตรียมพร้อมในเชิงรุกป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าเหตุการณ์ เพื่อตัดสินใจได้ทันเวลา
การรายงานและกระบวนการดังกล่าวรวมถึง:
นโยบาย Whistle-Blower Protection
นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรายงานโดยสุจริต ในกรณีที่พบว่ามีพฤติการณ์อันควรสงสัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าพนักงานผู้ทำการรายงาน หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการรายงานดังกล่าวจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และได้รับการคุ้มครอง ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้บริษัทสามารถรับรู้ข้อมูลพฤติการณ์ที่ต้องสงสัยอย่างรวดเร็ว ทันเวลา เพื่อที่จะได้มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม และทันเวลา
“พฤติการณ์อันควรสงสัยที่ต้องแจ้ง” หมายถึง การกระทำหรือการละเลยการกระทำใด ๆ โดยพนักงาน หรือลูกจ้างตามสัญญาที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท ไม่ว่าการกระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวจะอยู่ภายใต้ขอบเขตตามสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ก็ตาม มีดังต่อไปนี้
- การกระทำโดยไม่สุจริต รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะ การลักทรัพย์หรือการใช้ทรัพยากรของกลุ่มบริษัทในทางที่ผิด
- ฉ้อโกง
- ทุจริต
- การกระทำที่ผิดกฎหมาย
- การประพฤติปฏิบัติอื่นใดที่ไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรง
- วิธีการปฏิบัติใด ๆ อันนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยในงาน
- การกระทำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเป็นความเสียหายทางด้านการเงินหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้รวมถึงความเสียหายในชื่อเสียงของบริษัทด้วย
พนักงาน และ/หรือ ผู้ถือหุ้น อาจรายงานเรื่องดังกล่าวโดยตรงไปยังบุคคลดังต่อไปนี้
เจ้าหน้าที่ผู้รับรายงาน
นายหยู่เผิง หวง
หมายเลขโทรศัพท์ : 0 2129 5999
E-mail : [email protected]
กรรมการ, รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิง ไว กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ที่อยู่ : 1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์1 ชั้น 47 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
วิธีการรายงาน
- การรายงานที่ได้รับความคุ้มครองอาจทำโดยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ อย่างไรก็ตามควรรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความชัดเจนในการทำความเข้าใจเรื่องที่รายงาน สำหรับการรายงานโดยวาจานั้น หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ผู้รับรายงานหรือประธานคณะกรรมการตรวจสอบควรบันทึกเป็นเอกสาร (ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้รับรายงานคนแรก) การสื่อสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับการกล่าวหาในรายงานที่ได้รับความคุ้มครองก็ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน
- เจ้าหน้าที่ผู้รับรายงานจะจัดเก็บเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรายงานที่ได้รับความคุ้มครองไว้อย่างปลอดภัย เหมาะสม และเป็นความลับ
- รายงานที่ได้รับความคุ้มครอง (ทั้งโดยวาจาและเป็นลายลักษณ์อักษร) ควรเป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่การคาดการณ์ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นพยานหลักฐานอันเป็นที่ยุติของการกระทำที่กล่าวหาในรายงาน ทั้งนี้ รายงานควรประกอบด้วยลักษณะทั่วไปของการกระทำที่กล่าวหาในรายงาน ชื่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้อง วันที่และรายละเอียดของการกระทำผิดที่กล่าวหา และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ข้อมูลที่เปิดเผยควรชัดเจนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้สามารถประเมินลักษณะ ขอบเขตและความเร่งด่วนของกระบวนการสอบสวนเบื้องต้นที่จะต้องดำเนินการต่อไป
- ผู้เปิดเผยข้อมูลต้องบอกชื่อ หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ของตนเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับรายงานหรือประธานกรรมการตรวจสอบสามารถติดต่อกลับเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ หากจำเป็น
การรักษาความลับ
- ต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้เปิดเผยข้อมูลและบุคคลที่เข้าร่วม (หรือประสงค์จะเข้าร่วม) ในการสอบสวนที่ริเริ่มภายใต้นโยบายนี้ให้เป็นความลับมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ต้องเตือนบุคคลดังกล่าวว่าข้อมูลส่วนตัวของตนอาจถูกเปิดเผยเนื่องจากเหตุผลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของทุกคนที่เกี่ยวข้องในการรับรายงานที่ได้รับความคุ้มครอง และ/หรือ สอบสวนเรื่องที่ระบุในรายงานดังกล่าว
- ข้อมูลส่วนตัวของผู้ถูกสอบสวนจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับสูงสุด
การบริหารจัดการความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยงขององค์กรเป็นกระบวนการในการพิจารณาความเป็นไปได้ของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อบริษัท อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และกฎหมาย เพื่อที่จะกำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขตามความเหมาะสม รวมถึงวิเคราะห์สถานะการณ์ และโอกาสที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงขึ้น ดังนั้น บริษัทจึงได้จัดให้คำแนะนำในการรายงานการบริหารความเสี่ยงในทุก ๆ ไตรมาส
รายงานการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบภายในมีการดำเนินการตรวจสอบเป็นประจำทุกปีเพื่อตรวจสอบความพอเพียงและมีประสิทธิภาพของระบบการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย โดยรายงานการตรวจสอบภายในประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก มีกระบวนการควบคุมภายในที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมการบริหารงาน ประการที่สอง การดำเนินงานจะต้องเป็นไปตามนโยบาย และระเบียบที่บริษัทได้กำหนดขึ้น ประการสุดท้าย มีการรายงานการดำเนินการเพื่อที่จะรับทราบถึงข้อด้อยของการปฎิบัติเป็นการตรวจสอบข้อบกพร่องเพื่อที่จะพัฒนาและแก้ไขต่อไป
วิสัยทัศน์/พันธกิจและทิศทางกลยุทธ์
วิสัยทัศน์:
เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของสังคม ธุรกิจหลักของบริษัทครอบคลุมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริการด้านการเงิน อีคอมเมิร์ซและห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในจีน ฮ่องกง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหภาพยุโรป (อียู)
พันธกิจ:
เรามุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่า และผลตอบแทนอย่างสูงสุดอย่างยั่งยืนในระยะยาว และขณะเดียวกันเราตระหนักถึงความรับผิดชอบทั้งหมดของเรา
คำขวัญ:
ความรับผิดชอบสร้างคุณค่า หน้าที่บันดาลความมุ่งมั่น
ค่านิยม:
- ความรับผิดชอบ: เรารับผิดชอบต่อการกระทำและตระหนักถึงผลกระทบต่อผู้อื่น เราให้ความเคารพต่อมรดกและวัฒนธรรมท้องถิ่น และจะมุ่งมั่นที่จะยึดถือมาตรฐานสูงสุดของบรรษัทภิบาล จริยธรรม และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
- คุณภาพ: เรามุ่งมั่นที่จะได้รับความเป็นเลิศอย่างมืออาชีพจนถึงมีมาตรฐานสูงสุดด้านการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีความเป็นเลิศ
- ความยั่งยืน: เราเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบและสร้างความแตกต่างด้วยการสร้างและสนับสนุนชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เรามุ่งมั่นที่จะส่งมอบการเติบโตอย่างยั่งยืนและผมตอบแทนที่มีผลกำไร
- บุคลากร: เราให้ความสัมพันธ์และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียให้มีความแข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดแค่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชน ผู้จัดหาวัสดุ ผู้รับเหมา คู่ค้าและพนักงาน
- ความสร้างสรรค์: เราเน้นให้สินค้า บริการ และวัฒนธรรมของเราโอบล้อมไปด้วยนวัตกรรมและส่งเสริมสนับสนุนให้มุ่งหาโอกาสใหม่ๆ
โดยวิสัยทัศน์/พันธกิจและทิศทางกลยุทธ์ดังกล่าว บริษัทได้มีการพิจารณาและทบทวนเป็นประจำทุกปี
จรรยาบรรณธุรกิจ
บริษัทได้กำหนดจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ซึ่งเป็นนโยบายในการกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย การห้ามเลือกปฏิบัติ และการห้ามล่วงละเมิดในสถานที่ทำงาน การป้องกันการทุจริตทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้ง การห้ามติดสินบน การรับ/ให้ของขวัญ การบริจาค หรือการสนับสนุน

คณะกรรมการ
คณะกรรมการประกอบด้วย 3 ชุดได้แก่ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจเต็มเหนือการบริหารของฝ่ายจัดการบริษัทและมีอำนาจควบคุมให้การดำเนินงานของบริษัทบรรลุวัตถุประสงค์และอยู่ภายใต้ข้อบังคับของบริษัทและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ชื่อ | ตำแหน่ง | วันที่ได้รับแต่งตั้ง |
นายคิง ไว ชาน | ประธาน18 พ.ค. 2559 | 18 พ.ค. 2559 |
นายแอนโทนิโอ ฮาง ตัท ชานรองประธานกรรมการ | รองประธานกรรมการ | 18 พ.ค. 2559 |
นายฮาง ลี ชาน | รองประธานกรรมการ | 20 มิ.ย. 2561 |
นายหยู่เผิง หวง | กรรมการ | 18 พ.ค. 2559 |
นายบุญยงค์ ยงเจริญรัฐ | กรรมการ | 19 พ.ค. 2559 |
นายเซา ซาน เจิง | กรรมการ | 20 มิ.ย. 2559 |
นางจิรพร พิมพ์ภูราช | กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | 27 พ.ค. 2547 |
ศาสตราจารย์ชูเกียรติ ประมูลผล | กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | 21 ธ.ค. 2547 |
นายสมประสงค์ มัคคสมัน | กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | 27 พ.ค. 2547 |
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
หน้าที่โดยทั่วไปของคณะกรรมการบริษัทมีดังนี้
- พิจารณาและอนุมัตินโยบายในการดำเนินงานของบริษัทและอำนาจอนุมัติธุรกรรม
- เปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนให้แก่ผู้ถือหุ้นในเวลาที่เหมาะสม
- รับผิดชอบและใช้ความสามารถอย่างสูงสุดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
- ดูแลและจัดการบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับบริษัท รวมทั้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- พิจารณาและอนุมัติแผนกลยุทธ์ วัตถุประสงค์และแผนงานของบริษัท ตลอดจนการจัดการด้านการเงินและการปฏิบัติการอย่างเหมาะสม
- ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารในเรื่องสำคัญ ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อบริษัท
- ทำการประเมินผลให้เพียงพอต่อระบบควบคุมภายใน การบริหารจัดการความเสี่ยง รายงานทางการเงิน และการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด
- เสนอชื่อแต่งตั้งกรรมการและดำเนินการให้เป็นไปตามโครงสร้างและการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทตามหลักธรรมาภิบาล ให้คำปรึกษาและดูแลให้มีการชำระค่าตอบแทนผู้บริหารอย่างเหมาะสม
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารจำนวน 2 ท่าน และกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 2 ท่าน ซึ่งเป็นผู้มีคุณวุฒิ ความรู้ และประสบการณ์ในการควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจ ทรัพย์สิน กิจการ และการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ของบริษัท คณะกรรมการบริหารปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานให้สอดคล้องตามทิศทาง และนโยบายของบริษัท
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร
- ทำหน้าที่บริหารงานในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจตามปกติของบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายและงบประมาณของบริษัท ตลอดจนตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้บรรลุผลตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้
- การอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อย ซึ่งจะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติรายการที่เกิดขึ้นดังกล่าวทุกครั้ง
- ดำเนินกิจการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย รวมถึงการอนุมัติการดำเนินงานของบริษัทในเรื่องต่างๆ ตามขอบอำนาจที่คณะกรรมการบริษัทได้ให้ไว้
- อนุมัติเครดิตและตัดหนี้สูญตามขอบอำนาจที่มี
- จัดจ้างที่ปรึกษาหรือจัดซื้ออุปกรณ์ให้เป็นไปตามระเบียบขั้นตอน
คณะกรรมการบริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ประกอบด้วย
นายคิง ไว ชาน | ประธานคณะกรรมการบริหาร |
นายแอนโทนิโอ ฮาง ตัท ชาน | กรรมการบริหาร |
นายฮาง ลี ชาน | กรรมการบริหาร |
นายหยู่เผิง หวง | กรรมการบริหาร |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)
นายแอนโทนิโอ ฮาง ตัท ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานตามปกติธุระของบริษัท
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- ควบคุมดูแลการดำเนินกิจการและบริหารงานประจำวันของบริษัท
- ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัท
- เป็นผู้รับมอบอำนาจของบริษัทในการบริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ นโยบาย ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง และมติที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- บริหารจัดการและประเมินผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าภายในและภายนอกบริษัท
- พิจารณาการเข้าทำสัญญาเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท และสัญญาต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ต่อกิจการของบริษัท รวมทั้งกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำสัญญาดังกล่าว เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัท
- พิจารณาจัดสรร เงินรางวัล หรือผลตอบแทนต่าง ๆ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้วแก่พนักงานของบริษัท
- พิจารณาว่าจ้างพนักงาน ตลอดจนการโอน โยกย้ายข้ามสายงาน/ฝ่าย/แผนก หรือการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน
- กำหนดอัตราค่าจ้าง ค่าตอบแทน โบนัส และสวัสดิการของพนักงาน
- มีอำนาจ ออกคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบายและผลประโยชน์ของบริษัท เพื่อรักษาระเบียบวินัยการทำงานภายในองค์กร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่บริหารนั้น จะไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจที่ทำให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสามารถอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อย ซึ่งการอนุมัติรายการในลักษณะดังกล่าวจะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาและอนุมัติรายการดังกล่าวตามที่ข้อบังคับของบริษัทหรือบริษัทย่อย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามปกติที่มีการกำหนดขอบเขตอำนาจการอนุมัติไว้อย่างชัดเจน
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจเต็มเหนือการบริหารของฝ่ายจัดการบริษัทและมีอำนาจควบคุมให้การดำเนินงานของบริษัทบรรลุวัตถุประสงค์และอยู่ภายใต้ข้อบังคับของบริษัทและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการตรวจสอบถูกกำหนดให้ใช้แนวทางกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
- สอบทานงบการเงินเพื่อให้เชื่อมั่นว่าบริษัทเปิดเผยข้อมูลอย่างพอเพียง ถูกต้อง และเหมาะสม เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สอบทานให้บริษัทมีระบบควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล
- สอบทานการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดและมาตรฐานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- พิจารณา คัดเลือก เสนอแนะต่อคณะกรรมการในการแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมทั้งการพิจารณาเสนอค่าตอบแทน และประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อให้รายการดังกล่าวมีความโปร่งใส
- พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือการดำเนินการใด ๆ ของบริษัทที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความโปร่งใส ถูกต้อง และครบถ้วนสมบูรณ์
- จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ประกอบด้วย
นางจิรพร พิมพ์ภูราช | ประธานกรรมการตรวจสอบ |
ศาสตราจารย์ชูเกียรติ ประมูลผล | กรรมการตรวจสอบ |
นายสมประสงค์ มัคคสมัน | กรรมการตรวจสอบ |
นางจิรพร พิมพ์ภูราช มีประสบการณ์สูงในสาขาที่เกี่ยวข้องมาเป็นเวลากว่า 30 ปี มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสอบบัญชีของบริษัท
การเลือกกรรมการและผู้บริหาร
กรรมการและผู้บริหาร
คณะกรรมการมีความรับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัท และมีหน้าที่ในการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ และเป็นผู้มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถในการดูแล มีความสัมพันธ์อันดีเข้ากันได้กับคณะกรรมการ มาดำรงตำแหน่งผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม สำหรับการแต่งตั้งกรรมการและฝ่ายบริหารของบริษัท จะมีการสรรหาโดยจะต้องพิจารณาเสนอบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อบังคับของบริษัท คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา
การแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทอาจเป็นไปตามแนวทาง ดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1 ในกรณีของกรรมการดำรงตำแหน่งครบตามวาระ คณะกรรมการต้องเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเพื่อการคัดเลือกและอนุมัติในการประชุมสามัญประจำปี
กรณีที่ 2 ในกรณีกรรมการที่ดำรงตำแหน่งลาออกก่อนครบวาระของบุคคลนั้น คณะกรรมการต้องแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติเข้าดำรงตำแหน่งแทนที่กรรมการดังกล่าว ด้วยวิธีการลงคะแนน โดยต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 และดำรงตำแหน่งอยู่จนครบวาระ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการคนใหม่นั้นดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กรรมการคนเก่ามีเวลาเหลืออยู่
กรรมการอิสระ
ผู้ที่จะเป็นกรรมการอิสระของบริษัทต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและมีความเป็นอิสระตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนดไว้
คุณสมบัติของกรรมการอิสระ
- ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้น ๆ ด้วย - ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท
- ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย
- ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัยหรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทความสัมพันธ์ทางธุรกิจ รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงินด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัท หรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันโดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท
- ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย
- ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท
บริษัทมิได้กำหนดนโยบายจำกัดระยะเวลาสูงสุดของการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระเอาไว้ เนื่องจากบริษัทได้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถและประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการอิสระแต่ละท่านที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและสร้างความเจริญเติบโตให้กับบริษัทเป็นสำคัญ รวมถึงพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานและผลการประเมินการปฏิบัติงานเรื่อยมาตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระแต่ละท่านในระหว่างที่ปฏิบัติงานให้กับบริษัท ซึ่งกรรมการอิสระแต่ละท่านได้พิสูจน์แล้วว่าได้รักษาคุณสมบัติความเป็นอิสระและไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง และ/หรือ ส่วนได้เสียอย่างมีนัยสำคัญกับบริษัทแต่อย่างใด
การเข้าอบรมหลักสูตรหรือเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาของกรรมการ
บริษัทมีนโยบายสนับสนุนให้กรรมการทุกคน ผู้บริหาร และเลขานุการบริษัทเข้าอบรมหลักสูตรหรือเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทั้งภายในและภายนอกบริษัท เช่น การเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย รวมทั้งหลักสูตรอื่น ๆ ที่จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมมาใช้พัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อไป
นโยบายการประชุมคณะกรรมการ
บริษัทขอความร่วมมือจากกรรมการทุกท่านในการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุกครั้งเท่าที่จะเป็นไปได้ ในปี 2562 บริษัทจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการรวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง บริษัทกำหนดองค์ประชุมขั้นต่ำในการลงมติว่าจะต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ปฐมนิเทศกรรมการใหม่
ในกรณีมีกรรมการเข้าใหม่ บริษัทได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริษัท เพื่อให้กรรมการเข้ารับตำแหน่งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที โดยมีเลขานุการบริษัทเป็นผู้ประสานงานในด้านต่างๆ ดังนี้
- ประสานงานในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในด้านกฎหมายและอื่นๆ เช่น ข้อบังคับบริษัท วัตถุประสงค์บริษัท โครงสร้างองค์กรจรรยาบรรณทางธุรกิจของคณะกรรมการบริษัท เป็นต้น
- จัดให้มีการพบปะกับประธานกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และผู้บริหารของบริษัท เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ ในปี 2562 ไม่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่จึงไม่มีการปฐมนิเทศกรรมการใหม่
ประวัติการกระทำผิดกฎหมายของบริษัท กรรมการบริษัทและผู้บริหาร
ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา บริษัทไม่มีกรณีของการกระทำที่เป็นการขัดต่อกฎ ระเบียบ กฎหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน หรือกฎหมายต่างๆ อาทิ การที่บริษัทไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด ไม่มีรายการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทอื่นที่ไม่ใช่บริษัทย่อย บริษัทไม่มีชื่อเสียงในทางลบ อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย บริษัทไม่มีกรณีที่กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารลาออกอันเนื่องมาจากประเด็นเรื่องการกำกับดูแลกิจการของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทไม่มีกรณีที่มีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายด้านแรงงาน การจ้างงาน กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า หรือถูกดำเนินการใดๆ อันเนื่องมาจากการที่บริษัทไม่ได้ประกาศข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์สำคัญภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของราชการกำหนด
อนึ่ง กรรมการบริษัทและผู้บริหารของบริษัทไม่มีการกระทำที่เป็นการขัดต่อกฎ ระเบียบ กฎหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน หรือกฎหมายต่างๆ ทั้งทางแพ่ง และทางอาญา รวมทั้งไม่มีการกระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นอกจากนี้ กรรมการบริษัทและผู้บริหารของบริษัท ไม่มีการกระทำดังต่อไปนี้
- ไม่มีการกระทำที่เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน
- ไม่มีการกระทำผิดด้านการทุจริตหรือการกระทำผิดด้านจริยธรรม
การรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหาร
บริษัทได้กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่รายงานการถือหลักทรัพย์และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ซื้อ ขาย โอนหรือรับโอนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือนก่อนที่เผยแพร่งบการเงินต่อสาธารณชนนอกจากนั้น บริษัทมีนโยบายว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทจะต้องมีการรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการบริษัทซึ่งนับรวมถึงการถือหุ้นของคู่สมรส และผู้บริหาร 4 รายแรก นับต่อจากกรรมการผู้จัดการ โดยรวมถึงผู้จัดการฝ่ายบัญชีและผู้จัดการฝ่ายการเงิน
การรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 89/14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 2/2552 เรื่องการรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานให้บริษัททราบถึงการมีส่วนได้เสียของตน หรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งเป็นส่วนได้เสียของตน หรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง บริษัทจึงได้ปฏิบัติตามนโยบายว่าด้วยการรายงานการมีส่วนได้เสีย
- ด้านการรายงาน
กำหนดให้กรรมการและผู้บริหาร ซึ่งหมายถึง กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรก นับต่อจากกรรมการผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีหรือการเงิน รายงานให้บริษัทได้รับทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- วิธีการรายงาน
จัดทำรายงานและส่งให้เลขานุการบริษัท รวมตลอดถึงในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้จัดทำรายงานส่งให้เลขานุการบริษัททุกครั้งภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ได้รายงานไป
- การรายงานคณะกรรมการบริษัท
เลขานุการบริษัทจะต้องรายงานการมีส่วนได้เสียให้คณะกรรมการบริษัททราบในการประชุมคณะกรรมการบริษัทประจำไตรมาส
การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
บริษัทได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ด้วยการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน มีขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงความได้เปรียบในการซื้อขายหลักทรัพย์
บริษัทได้กำหนดโยบายการห้ามมิให้นำข้อมูลภายในไปใช้ ซึ่งระบุไว้ในคู่มือจรรยาบรรณทางธุรกิจ
นโยบายดังกล่าวห้ามบุคคลภายในผู้มีส่วนได้เสียทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท หากมีข้อมูลอยู่ในความครอบครอง ซึ่งอาจจะหรือดูเหมือนว่าอาจจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเงินของบริษัท
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- บริษัทใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบการใช้ข้อมูลภายในที่อาจส่งผลกระทบต่อการซื้อขายหุ้นของบริษัท กรรมการ ฝ่ายบริหาร และลูกจ้างทุกคน รวมทั้งคู่สมรส และบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี ต้องอยู่ภายใต้ข้อห้ามอย่างเด็ดขาดมิให้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือน ก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลภายใน หรือการเปิดเผยข้อมูลงบการเงินต่อสาธารณชน
- กรรมการและผู้บริหารของบริษัทมีหน้าที่ในการนำส่งสำเนาการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัททุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ลูกจ้างของบริษัทถูกกำหนดให้รับทราบถึงนโยบายดังกล่าว เมื่อถูกว่าจ้างและยังถูกกำหนดให้ต้องตรวจสอบนโยบายทุกปีเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามนโยบายโดยถูกต้อง หากลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามนโยบายการใช้ข้อมูลภายใน จะต้องถูกดำเนินการทางวินัย รวมถึงการไล่ออก นอกจากนี้ยังมีความผิดในทางแพ่ง และอาญา
ทั้งนี้ ในปี 2562 บริษัทไม่มีกรณีที่กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในแต่อย่างใด
ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
บริษัท และบริษัทย่อย ได้ตกลงว่าจ้าง บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด ดำเนินการตรวจสอบบัญชีและ ได้จ่ายค่าตอบแทนจากการสอบบัญชีที่เกิดขึ้นในปี 2562 รวมเป็นจำนวน 6,900,000 บาท
ค่าตรวจสอบบัญชีบริษัท 2,160,000 บาท
ค่าตรวจสอบบัญชีบริษัทย่อย 4,740,000 บาท
บริษัทฯ ไม่มีการจ่ายค่าบริการอื่น (non-audit fee) ให้แก่ผู้สอบบัญชีในปี 2562 ทั้งนี้ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด และผู้สอบบัญชีไม่เป็นกรรมการบริษัท พนักงาน ลูกจ้าง หรือดำรงตำแหน่งหน้าที่ใดๆ ของบริษัท ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 รวมตลอดถึงไม่มีความสัมพันธ์และไม่มีส่วนได้เสียกับบริษัท บริษัทย่อย ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว โดยผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระและเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นอกจากนั้น บริษัทไม่ได้ใช้บริการทางวิชาชีพด้านอื่นๆ จากบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด
อนึ่ง ในทำนองเดียวกัน กรรมการบริษัทและผู้บริหารของบริษัทไม่เคยเป็นพนักงานหรือหุ้นส่วนหรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ ในบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
ค่าบริการอื่น
– ไม่มี –
การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องอื่นๆ
บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเห็นว่าหลักการดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทในการพัฒนาองค์กร ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาและทบทวนการนำหลักปฏิบัติตาม CG Code และนำไปปรับใช้ตามบริบททางธุรกิจแล้วอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีบางเรื่องที่บริษัทยังไม่ได้ปฏิบัติได้ครบทุกข้อ เช่น
- บริษัทควรกำหนดให้กรรมการอิสระมีวาระดำรงตำแหน่งต่อเนื่องไม่เกิน 9 ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้งครั้งแรก
ปัจจุบันในส่วนของบริษัท มีกรรมการอิสระจำนวน 3 คน ที่มีวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระเกิน 9 ปี แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และมีความเห็นว่า กรรมการอิสระของบริษัทเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดคุณสมบัติกรรมการอิสระของบริษัท และข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัท มีความคิดเห็นและ มีการแสดงออกอย่างเป็นอิสระ รวมตลอดถึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของกรรมการอิสระได้อย่างดี
- บริษัทควรพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย เช่น คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการสรรหา CG Committee และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
ปัจจุบันในส่วนของบริษัท มีคณะกรรมการจำนวน 2 ชุดย่อย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท และคณะกรรมการบริหาร ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดย่อย ได้มีการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนในทุกด้าน ซึ่งคณะกรรมการทุกคณะ ได้ปฏิบัติงานเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ มีจรรยาบรรณและอยู่ภายใต้ข้อบังคับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และทำให้แน่ใจว่ากระบวนการและนโยบายจะได้รับการน้อมนำไปปฏิบัติโดยฝ่ายบริหารเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัท